วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1
นิยามคำศัพท์เพิ่มเติม
ประชากร = สมช. ชนิดเดียวกัน + เวลาเดียวกัน + ที่อยู่อาศัยเดียวกัน
ระบบนิเวศ = ประชากร + แหล่งที่อยู่อาศัย + ปัจจัยด้านกายภาพและชีวภาพ
ไบโอม = ระบบนิเวศ + ปัจจัยซึ่งเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต
ไบโอม แบ่งเป็น ไบโอมบนบก และไบโอมในน้ำ
 
ไบโอมบนบก (terrestrial biome) แบ่งชนิดของไบโอมตามปริมาณน้ำฝน
Interesting ประยุกต์ไบโอมกับการออกแบบ Map ในเกมของผู้สร้าง มีทั้งส่วนเสมือนจริง และส่วนที่สร้างขึ้นจากจินตานาการ https://minecraft.gamepedia.com/Biome

1. ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบฝนตกชุกตลอดปี 200-400 เซนติเมตร/ปี มีความหลากหลายทางชีวภาพพบพืชและสัตว์นับพันสปีชีส์ มีโอกาสพบไบโอมนี้ในเขตที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
2. ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduoud forest) มีฝนตกเฉลี่ย 100 เซนติเมตร/ปี ผลัดใบก่อน-ผลิหลังฤดูหนาว พบได้ทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม รวมถึงพืชล้มลุก
3. ป่าสน (Boreal forest) มีต้นไม้เขียวชะอุ่มตลอดปี ฤดูหนาวค่อนข้างยาว อากาศหนาวเย็นและแห้ง พืชเด่นๆ ที่พบ เช่น ไพน์ เฟอร์ 
4. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) เช่น ทุ่งหญ้าแพรร์รี่ในตอนกลางของอเมริกาเหนือ และทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศรัสเซีย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตร/ปี เป็นเขตที่เหมาะต่อการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์
5. สะวันนา (Savanna) ลักษณะของภูมิอากาศร้อน และในฤดูร้อนมักมีไฟป่าเกิดขึ้นเสมอ มีต้นไม้และหญ้ากระจายเป็นหย่อมๆ
6. ทะเลทราย (Desert) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตร/ปี อุณหภูมิในตอนกลางวันสูงถึง 60 องศาเซลเซียสและเย็นจัดในตอนกลางคืน พืชที่พบจะลดรูปใบเป็นหนาม และลำต้นอวบเพื่อสะสมน้ำ
7. ทุนดรา (Tundra) ฤดูหนาวยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ ดินที่อยู่ต่ำลงไปจากผิวดินชั้นบนจับตัวกันเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ปริมาณฝนน้อยมาก น้ำแข็งที่ผิวดินจะละลายเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนแต่จะไม่ซึมผ่านชั้นน้ำแข็งทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้นๆ ซึ่งเป็นพืชพวกไม้ดอก ไม่พุ่ม และพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคน
ไบโอมในน้ำ (aquatic biome) 
ในไบโอสเฟียร์มี 3 ไบโอมหลักๆ คือ
1. แหล่งน้ำจืด (freshwater) แหล่งน้ำนิ่ง เช่น บึง สระ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำไหลได้แก่ ธารน้ำไหล และแม่น้ำ
2. แหล่งน้ำเค็ม (marine) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อไบโอมนี้คือปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ประกอบด้วยทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร
3. แหล่งน้ำกร่อย (estauries) พบบริเวณรอยต่อของแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน
ระบบนิเวศ แบ่งเป็นระบบนิเวศในน้ำ และบนบก
1. แหล่งน้ำจืด แบ่งเป็น ประเภทน้ำนิ่ง กับน้ำไหล
แหล่งน้ำจืด ประเภทน้ำนิ่งแบ่งออกเป็น 3 โซน โดยแบ่งตามความสามารถของแสงที่ส่องถึง
2. แหล่งน้ำเค็ม แบ่งเป็น บริเวณชายฝั่ง และบริเวณทะเลเปิด ซึ่งบริเวณนี้ก็มีการแบ่งเป็น 3 โซนในลักษณะเดียวกันกับแหล่งน้ำจืด สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่พบในแต่ละโซนมีการปรับตัวทั้งทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอด
ระบบนิเวศน้ำเค็ม ยังแบ่งตามลักษณะพื้นผิวทางกายภาพ ได้อีก 3 ระบบนิเวศ ได้แก่
1. ระบบนิเวศหาดทราย บริเวณที่ระดับน้ำลงต่ำสุดจนถึงระดับน้ำขึ้นที่ละอองน้ำสาดซัดไปถึง ปัจจับที่มีผลต่อความชื้นและอุณหภูมิบนหาดทรายคือความลาดชันและกระแสน้ำขึ้น-ลง สิ่งมีชีวิตที่พบ เช่น ปูลม (ซ้าย) และจั๊กจั่นทะเล (ขวา)
 
2. ระบบนิเวศหาดหิน ประกอบด้วยโขดหินที่ไม่เรียบ มีซอกและแอ่งเป็นกำบังคลื่นลมเพื่อหลบซ่อนศัตรู เวลาน้ำลงสัตว์และพืชต้องเผชิญกับการขาดน้ำชั่วขณะ อุณหภูมิสูงขึ้น แสงมากขึ้น เมื่อน้ำขึ้นเพิ่มขึ้นความชื้นเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณแสงและอุณหภูมิลดลง สิ่งมีชีวิตที่พบเช่น เพรียงหิน ซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้แต่สร้างเปลือกหุ้มเพื่อกักเก็บน้ำภายใน หรือเคลื่อนที่ได้ เช่น ลิ่นทะเล จะเคลื่อนที่ไปหลบในซอกหินเมื่อน้ำลง
 
3. ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล มีความหลากหลายทางระบบนิเวศมากที่สุดในท้องทะเล เป็นที่กำบัง และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด
ระบบนิเวศบนบก
1. ป่าไม่ผลัดใบ
1.1 ป่าดิบชื้น ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออก เขียวครึ้มตลอดปี มีความชื้นสูง พืชมีใบกว้างคลุมหนาแน่น ในป่าดิบชื้นพบต้นไม้สูงถึง 40 เมตร จนถึงไม้ล่างที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร

1.2 ป่าดิบแล้ง พบทางเหนือและจะวันออกเฉียงเหนือ แห้งแล้งอย่างน้อย 3-4 เดือน ลักษณะเป็นป่าโปร่ง พืชเด่นที่พบในเรือนยอดชั้นบน เช่น ยางแดง มะค่าโมง เคี่ยม หลุมพอ

1.3 ป่าดิบเขา พบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร พบได้ในเทือกเขาสูงแถบภาคเหนือ จัดเป็นป่าต้นไม้ลำธาร ไม้ต้นที่พบเช่น ไม้วงศ์ก่อ นางพญาเสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) มะขามป้อมดง อบเชย กำยาน ไม้พื้นล่าง เช่น กุหลาบป่า กล้วยไม้ดิน
ป่าดิบเขา ณ อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์
1.4 ป่าสน ไม้ต้นที่พบมีใบเรียวเล็กเหมือนเข็ม พื้นป่าเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกเกิดขึ้นน้อยเพราะดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีความเป็นกรดและขาดธาตุอาหาร มีอัตราการชะล้างสูง สัตว์ที่พบเช่น แมวป่า ชะมด เม่น อีเห็น
ป่าสนบริเวณอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
1.5 ป่าชายเลน พบใกล้แหล่งน้ำกร่อย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พรรณไม้ที่พบ เช่น โกงกาง แสม ลำพู ตะบูน มีความสำคัญในแง่การเป็นแหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย แหล่งวางไข่ และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา

1.6 ป่าพรุ พบตามที่ลุ่มที่มีน้ำขังตลอดปี สภาพดินเป็นดินพรุเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ น้ำจึงมีความเป็นกรดสูง ลักษณะของป่าแน่นทึบ พรรณไม้ที่พบ เช่น หวาย หมากแดง หลุมพี พบกระจายอยู่บนภูเขาสูงและที่ราบชายฝั่งทะเล
ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส น้ำที่ขังในป่ามีสีน้ำตาลแดง

2. ป่าผลัดใบ
2.1 ป่าเบญจพรรณ เบญจ แปลว่า 5 จึงพบพรรณไม้หลัก 5 ชนิด ได้แก่ สัก มะค่า แดง ประดู่ ชิงชัน ขึ้นปะปนกับไผ่และพืชวงศ์หญ้าชนิดอื่นๆ พบทุกภาคในไทยยกเว้นภาคใต้ ดินเป็นดินร่วนปนทราย

2.2 ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าแพะ เป็นป่าโปร่งมีต้นขนาดใหญ่พบในเขตแห้งแล้งของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด พรรณไม้ที่พบ เช่น เต็ง รัง ไผ่เพ็ก พะยอม เหียง พลวง ประดู่แดง มะขามป้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น