วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ
1. ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ (Ex. การสะสมชั้นไขมันใต้ผิวหนังของหมีขั้วโลก) แสง (Ex. การผลิตฮอร์โมนเพศของสัตว์เลือดอุ่นในฤดูหนาว เพื่อสืบพันธ์ในฤดูใบไม่ร่วงและออกลูกในฤดูใบไม้ผลิ) ความชื้น (ปริมาณไอน้ำในอากาศ Ex. ในทะเลทรายมีความชื้นน้อย สมช.จึงต้องปรับตัวให้สูญเสียน้ำจากร่างกายน้อยให้มากที่สุดเช่นกัน เช่น หนูแกงการู หากินในเวลากลางคืนและกินเมล็ดพืชแห้งเพื่อทำให้ได้รับน้ำจากกระบวนการเมทาบอลิซึม และปัสสาวะน้อยครั้ง) แก๊ส (เช่นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ซึ่งอยู่ในกระบวนการสังเคราะห์แสง การแลกเปลี่ยนแก๊ส และการตรึงโดยแบคทีเรีย Risobium ที่ปมรากถั่ว) ค่า pH (บริเวณที่พบจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์จะมีความเป็นกรดมาก)
2. ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
Symbiosis รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายใดเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะเกื้อกูลหรืออิงอาศัย (Commensalism) ฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายไม่เสีย
+/0
-/0
เหาฉลามกับปลาฉลาม
ภาวะพึ่งพา (Mutualism) ต่างฝ่ายต่างได้ แยกกันมีแต่เสีย
+/+
-/-
รากับสาหร่าย (ไลเคน)
Antagonism รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยมีฝ่ายเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะปรสิต (Parasitism) Parasite เป็นผู้ได้ประโยชน์ Host เป็นผู้เสียประโยชน์
+/-
-/0
ฝอยทองเจาะรากหยั่งลึกลงเนื้อไม้เพื่อดูดกินน้ำ
ภาวะล่าเหยื่อ (Predation)
+ ผู้ล่า (Predator) ได้ประโยชน์
- เหยื่อ (Prey) เสียประโยชน์
+/-
-/0
สิงโตล่าม้าลาย
ภาวะแข่งขัน (Competition) ทั้งสองฝ่ายต้องการปัจจัยเดียวกันซึ่งมีที่อยู่อย่างจำกัด
-/-
0/0
จอกแหนในแหล่งน้ำ
ภาวะการสร้างสารยับยั้ง (Antibiosis) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งสร้างและหลั่งสารเคมีไปยับยั้งการเจริญของอีกฝ่ายหนึ่ง
0/-
0/0
ราเพนิลซีเลียมหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียรอบๆ
Neutralism รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะเป็นกลาง (Neutralism)
0/0
0/0
กวางกับกระต่าย
Food chain with law of 10%
Ex. ต้นข้าว (100 Kcal)→ตั๊กแตน (10 Kcal)→กบ (1 Kcal)→คน (0.1 Kcal)
Food webs ประกอบด้วย Food chain หลายห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์กันสลับซับซ้อนในระบบนิเวศนั้น
Ecological Pyramid
1. Pyramid of numbers นับจำนวนของสิ่งมีชีวิต โดยผู้ผลิตอยู่บริเวณฐาน มีหน่วยเป็นจำนวนต่อตารางเมตร มีทั้งฐานกว้าง และฐานแคบ
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm

2. Pyramid of biomass ใช้มวลของสมช.ในรูปของน้ำหนักแห้ง หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเมตร มีทั้งฐานกว้างและฐานแคบ
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm

3. Pyramid of energy แสดงค่าพลังงานของสมช.แต่ละชนิดหน่วยเป็นกิโลแคลอรีต่อตารางเมตร รูปแบบที่ได้ คือ ฐานกว้าง
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm
วัฏจักรของสารที่หมุนเวียนผ่านบรรยากาศ
1. วัฏจักรของน้ำ
2. วัฏจักรของคาร์บอน
3. วัฏจักรของไนโตรเจน
วัฏจักรของสารที่ไม่หมุนเวียนผ่านบรรยากาศ
1. วัฏจักรฟอสฟอรัส
2. วัฏจักรซัลเฟอร์
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (adaptation)
1. การปรับตัวแบบชั่วคราว เกิดในระยะสั้น สามารถเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ เช่น ดอกทานตะวันเบนเข้าหาแสงอาทิตย์
ทำไมดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ https://www.facebook.com/ipst.thai/photos/a.186298994739830/1115426221827098/?type=3&theater
2. การปรับตัวถาวร เช่น การลดใบเป็นหนามของกระบองเพชรเพื่อลดการคายน้ำ ทำให้ลำต้นอวบน้ำ
ในสัตว์ก็มีการปรับตัวแบบถาวร เช่น
1. การปรับตัวด้านสรีระ เช่น นกทะเลมีต่อมนาซัลที่ใช้ขับเกลือออกนอกร่างกาย

2. การปรับตัวทางสัณฐาน เช่น ลักษณะลำตัวและสีของตั๊กแตนใบไม้ ลักษณะของปากนกฟินซ์บนเกาะกาลาปากอสบริเวณต่างๆ ตามอาหารที่มันกิน

3. การปรับตัวด้านพฤติกรรม เช่น หนูแกงการู ออกหากินเวลากลางคืนเพื่อหลักเลี่ยงความร้อนระอุในตอนกลางวัน
การเปลี่ยนแปลงแทนที่
ขั้นปฐมภูมิ (primary succession) คือการแทนที่บนแหล่งที่ไม่เคยพบสมช.มาก่อนและเจริญจนถึง climax สมช.ที่พบเป็นกลุ่มแรกเรียกว่า poineer species
ขั้นทุติยภูมิ (secondary succession) คือการแทนที่พื้นที่ที่เคยมีสมช.อยู่ก่อนแล้วถูกทำลายลง เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดโรคระบาด โดยมีสมช.กลุ่มใหม่เข้าไปแทนที่สมช.เดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น