วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

กล้องจุลทรรศน์ (microscope)
1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (light microscope) 
1.1 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา (simple compound light microscope) เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบ ซึ่งประกอบไปด้วยเลนส์ใกล้วัตถุ และเลนส์ใกล้ตา
1.2 กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงสเตอริโอ (stereoscopic microscope) เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบที่ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถแยกรายละเอียดได้ด้วยตาเปล่า ภาพที่ได้เป็น 3 มิติ มีความชัดลึกเป็นภาพเสมือนหัวตั้ง
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา
กล้องจุลทรรศใช้แสงแบบสเตอริโอ
ดวงตาของแมลงภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ
2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่สามารถแสดงคุณสมบัติของคลื่นคล้ายแสงได้ จึงใช้ลำอิเล็กตรอนความถี่สูงมาใช้แทนแสงในการประดิษฐ์ ซึ่งมีกำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หรือ TEM และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน SEM กล้องทั้งสองใช้ศึกษาโครงสร้างระดับโมเลกุลได้ นักชีววิทยาใช้ TEM เมื่อต้องการศึกษาโครงสร้างด้านนอกของวัตถุ และใช้ SEM เมื่อต้องการศึกษาส่วนประกอบภายในของวัตถุ
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
1. การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
1.1 Passive Transport ไม่ใช่พลังงาน
1.1.1 Diffusion เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ความเข้มข้นต่ำ เกิดกับสารที่มีขนาดเล็ก ละลายในไขมันได้ดีและไม่มีขั้ว เช่น แก๊สออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน รวมทั้งวิตามิน A D E K ซึ่งละลายในไขมัน

1.1.2 Osmosis เป็นการแพร่ของน้ำผ่านระหว่างภายใน-นอกของเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยจะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ในการทดลองหย่อนเซลล์หนึ่งลงในสารละลายมีความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเท่ากับภายในเซลล์ เซลล์จะมีขนาดเท่าเดิม สารละลายนั้นเรียกว่า isotonic solution แต่ถ้าภายนอกสูงกว่าภายในเซลล์ น้ำจะออสโมซิสออกนอกเซลล์ทำให้เซลล์เหี่ยว เรียกสารละลายนั้นว่า hypertonic solution แต่ถ้าภายนอกต่ำกว่าภายในเซลล์ น้ำจะออสโมซิสเข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์เต่ง เรียกสารละลายนั้นว่า hypotonic solution

1.1.3 Facilitate เป็นการแพร่ของสารที่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยตรงต้องเคลื่อนผ่านช่องโปรตีนตัวพาภายในเยื่อหุ้มเซลล์ เช่น ไอออนต่างๆ กลีเซอรอล กลูโคสและกรดอะมิโน และจะเคลื่อนจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปยังด้านที่มีความเข้มข้นต่ำ แพร่ได้เร็วกว่า diffusion และเป็นกระบวนการที่มีความจำเพาะในการเคลื่อนย้ายสารที่มีโครงสร้างทางเคมีแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น

1.2 Active Transport ใช้พลังงาน โดยอาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่ลำเลียงเช่นเดียวกับ facilitate แต่ต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานที่ได้จากการสลายพันธะของ ATP เพื่อเป็นแรงผลักดันในการลำเลียงซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

2. การลำเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์
2.1 Exocytosis ลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ซึ่งบรรจุอยู่ใน vesicle เมื่อรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์สารภายใน vesicle ก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร

2.2 Endocytosis ลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์
2.2.1 Phagocytosis เซลล์ยื่นไซโทพลาสซึมออกไปล้อมอนุภาคของสารที่ไม่ละลายน้ำเข้าสู่เซลล์ในรูปของ food vacuole จากนั้นจะรวมตัวกับ lysosome ภายในเซลล์เพื่อย่อยสลายสารภายใน vacuole ด้วยเอนไซม์ภายใน lysosome ตัวอย่างที่พบ เช่น อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาว
2.2.2 Pinocytosis นำอนุภาคของสารเข้าสู่เซลล์โดยเว้าเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในไซโทพลาสซึมจนกลายเป็นถุงเวสิเคิลที่ปิดสนิท ตัวอย่างที่พบ เช่น เซลล์บุผนังหลอดเลือด
2.2.3 Receptor-mediated endocytosis ลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนเป็นตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงจะมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าคอดเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าสู่ภายในเซลล์ เช่น การนำคอเรสเตอรอลเข้าสู่ตับ
การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกาย
คน
ร่างกายขาดน้ำกระหายน้ำ และเลือดเข้มข้นกว่าปกติ→ส่งผลให้ไฮโพทาลามัส→กระตุ้นปลายประสาทต่อใต้สมองส่วนหลัง→หลั่ง ADH (antidiuretic hormone)→ทำให้หลอดเลือดดูดน้ำกลับ→ที่ท่อหน่วยไต→ทำให้ความเข้มข้นในเลือดลดลง ปริมาณน้ำในเลือดสูง→ร่างกายไม่กระหายน้ำ
พารามีเซียม อะมีบา ฯลฯ
เนื่องจากต้องอาศัยอยู่บนผิวน้ำทำให้มีน้ำออสโมซิสเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา contractile vacuole จะรวบรวมน้ำส่วนเกินของเซลล์ แล้วเคลื่อนไปใกล้ชิดเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยน้ำออกสู่ภายนอก
ปลา
ปลาน้ำจืด น้ำเข้าสู่ร่างกายไปพร้อมกับอาหารที่กิน และการออสโมซิสบริเวณเยื่อบางๆ ที่เหงือก จึงทำให้ปลาน้ำจืดต้องขับน้ำผ่านปัสสาวะบ่อยๆ และปัสสาวะเจือจาง ในขณะเดียวกันแร่ธาจุอาจมีการสูบเสียผ่านเยื่อบางๆ ที่เหงือก แต่จะมีเซลล์พิเศษในบริเวณนั้นเพื่อดูดซึมแร่ธาตุจำเป็นกลับคืนสู่ร่างกายด้วยวิธี active transport
ปลาทะเล ของเหลวในร่างกายมีความเข้มข้นต่ำกว่าน้ำทะเล ปลาทะเลจึงมีกระบวนการควบคุมน้ำในร่างกายตรงข้ามกับปลาน้ำจืด กล่าวคือผิวหนังและเกล็ดของปลาทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยขับแร่ธาตุส่วนเกินออกผ่านกลุ่มเซลล์ที่เหงือกด้วยวิธี active transport ปลาทะเลปัสสาวะน้อยและปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง
นกทะเล กินอาหารจากทะเลทำให้ปริมาณเกลือในร่างกายมากเกินความจำเป็น จึงมีอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า ต่อมนาซัล (nasal gland) และรูจมูกของน้ำทะเล
การรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย

สัตว์เลือดอุ่น คือสัตว์ที่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้เกือบคงที่แม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่างกัน เช่น นก แมว สุนัข ส่วนสัตว์ที่ไม่มีกลไกลรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ และแปรผันตามสิ่งแวดล้อม เรียกสัตว์ประเภทนี้ว่า สัตว์เลือดเย็น
ระบบหมู่เลือด ABO และการให้-รับของหมู่เลือด

ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.springnews.co.th/news/202714
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โรค SLD (sysmetic lupus erythematosus) เป็นโรคที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง ซึ่งภูมิต้านทานไม่สามารถแยกแยะระหว่างเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมกับเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเอง
ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่างรุนแรงเกินไปทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น มีปฏิกิริยาต่อสารเคมี ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ สารจากสัตว์ทะเล ทำให้เกิดลมพิษ ไอจาม หอบ หืด
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ AIDS (acquired immune deficiency syndrome) เป็นกลุ่มอาการของผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ และเราจะเห็นว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ผู้ป่วยมักจะมีอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ซึ่งมาจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่น เช่น โรคหวัด โรคท้องเดิน โรคปอด

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ
1. ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ (Ex. การสะสมชั้นไขมันใต้ผิวหนังของหมีขั้วโลก) แสง (Ex. การผลิตฮอร์โมนเพศของสัตว์เลือดอุ่นในฤดูหนาว เพื่อสืบพันธ์ในฤดูใบไม่ร่วงและออกลูกในฤดูใบไม้ผลิ) ความชื้น (ปริมาณไอน้ำในอากาศ Ex. ในทะเลทรายมีความชื้นน้อย สมช.จึงต้องปรับตัวให้สูญเสียน้ำจากร่างกายน้อยให้มากที่สุดเช่นกัน เช่น หนูแกงการู หากินในเวลากลางคืนและกินเมล็ดพืชแห้งเพื่อทำให้ได้รับน้ำจากกระบวนการเมทาบอลิซึม และปัสสาวะน้อยครั้ง) แก๊ส (เช่นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ซึ่งอยู่ในกระบวนการสังเคราะห์แสง การแลกเปลี่ยนแก๊ส และการตรึงโดยแบคทีเรีย Risobium ที่ปมรากถั่ว) ค่า pH (บริเวณที่พบจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์จะมีความเป็นกรดมาก)
2. ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
Symbiosis รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายใดเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะเกื้อกูลหรืออิงอาศัย (Commensalism) ฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายไม่เสีย
+/0
-/0
เหาฉลามกับปลาฉลาม
ภาวะพึ่งพา (Mutualism) ต่างฝ่ายต่างได้ แยกกันมีแต่เสีย
+/+
-/-
รากับสาหร่าย (ไลเคน)
Antagonism รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยมีฝ่ายเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะปรสิต (Parasitism) Parasite เป็นผู้ได้ประโยชน์ Host เป็นผู้เสียประโยชน์
+/-
-/0
ฝอยทองเจาะรากหยั่งลึกลงเนื้อไม้เพื่อดูดกินน้ำ
ภาวะล่าเหยื่อ (Predation)
+ ผู้ล่า (Predator) ได้ประโยชน์
- เหยื่อ (Prey) เสียประโยชน์
+/-
-/0
สิงโตล่าม้าลาย
ภาวะแข่งขัน (Competition) ทั้งสองฝ่ายต้องการปัจจัยเดียวกันซึ่งมีที่อยู่อย่างจำกัด
-/-
0/0
จอกแหนในแหล่งน้ำ
ภาวะการสร้างสารยับยั้ง (Antibiosis) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งสร้างและหลั่งสารเคมีไปยับยั้งการเจริญของอีกฝ่ายหนึ่ง
0/-
0/0
ราเพนิลซีเลียมหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียรอบๆ
Neutralism รูปแบบการอยู่ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
รูปแบบความสัมพันธ์
สัญลักษณ์
ถ้าแยกกันอยู่
ตัวอย่างความสัมพันธ์
ภาวะเป็นกลาง (Neutralism)
0/0
0/0
กวางกับกระต่าย
Food chain with law of 10%
Ex. ต้นข้าว (100 Kcal)→ตั๊กแตน (10 Kcal)→กบ (1 Kcal)→คน (0.1 Kcal)
Food webs ประกอบด้วย Food chain หลายห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์กันสลับซับซ้อนในระบบนิเวศนั้น
Ecological Pyramid
1. Pyramid of numbers นับจำนวนของสิ่งมีชีวิต โดยผู้ผลิตอยู่บริเวณฐาน มีหน่วยเป็นจำนวนต่อตารางเมตร มีทั้งฐานกว้าง และฐานแคบ
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm

2. Pyramid of biomass ใช้มวลของสมช.ในรูปของน้ำหนักแห้ง หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเมตร มีทั้งฐานกว้างและฐานแคบ
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm

3. Pyramid of energy แสดงค่าพลังงานของสมช.แต่ละชนิดหน่วยเป็นกิโลแคลอรีต่อตารางเมตร รูปแบบที่ได้ คือ ฐานกว้าง
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology2/chapter5/eco4.htm
วัฏจักรของสารที่หมุนเวียนผ่านบรรยากาศ
1. วัฏจักรของน้ำ
2. วัฏจักรของคาร์บอน
3. วัฏจักรของไนโตรเจน
วัฏจักรของสารที่ไม่หมุนเวียนผ่านบรรยากาศ
1. วัฏจักรฟอสฟอรัส
2. วัฏจักรซัลเฟอร์
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (adaptation)
1. การปรับตัวแบบชั่วคราว เกิดในระยะสั้น สามารถเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ เช่น ดอกทานตะวันเบนเข้าหาแสงอาทิตย์
ทำไมดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ https://www.facebook.com/ipst.thai/photos/a.186298994739830/1115426221827098/?type=3&theater
2. การปรับตัวถาวร เช่น การลดใบเป็นหนามของกระบองเพชรเพื่อลดการคายน้ำ ทำให้ลำต้นอวบน้ำ
ในสัตว์ก็มีการปรับตัวแบบถาวร เช่น
1. การปรับตัวด้านสรีระ เช่น นกทะเลมีต่อมนาซัลที่ใช้ขับเกลือออกนอกร่างกาย

2. การปรับตัวทางสัณฐาน เช่น ลักษณะลำตัวและสีของตั๊กแตนใบไม้ ลักษณะของปากนกฟินซ์บนเกาะกาลาปากอสบริเวณต่างๆ ตามอาหารที่มันกิน

3. การปรับตัวด้านพฤติกรรม เช่น หนูแกงการู ออกหากินเวลากลางคืนเพื่อหลักเลี่ยงความร้อนระอุในตอนกลางวัน
การเปลี่ยนแปลงแทนที่
ขั้นปฐมภูมิ (primary succession) คือการแทนที่บนแหล่งที่ไม่เคยพบสมช.มาก่อนและเจริญจนถึง climax สมช.ที่พบเป็นกลุ่มแรกเรียกว่า poineer species
ขั้นทุติยภูมิ (secondary succession) คือการแทนที่พื้นที่ที่เคยมีสมช.อยู่ก่อนแล้วถูกทำลายลง เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดโรคระบาด โดยมีสมช.กลุ่มใหม่เข้าไปแทนที่สมช.เดิม

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1
นิยามคำศัพท์เพิ่มเติม
ประชากร = สมช. ชนิดเดียวกัน + เวลาเดียวกัน + ที่อยู่อาศัยเดียวกัน
ระบบนิเวศ = ประชากร + แหล่งที่อยู่อาศัย + ปัจจัยด้านกายภาพและชีวภาพ
ไบโอม = ระบบนิเวศ + ปัจจัยซึ่งเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต
ไบโอม แบ่งเป็น ไบโอมบนบก และไบโอมในน้ำ
 
ไบโอมบนบก (terrestrial biome) แบ่งชนิดของไบโอมตามปริมาณน้ำฝน
Interesting ประยุกต์ไบโอมกับการออกแบบ Map ในเกมของผู้สร้าง มีทั้งส่วนเสมือนจริง และส่วนที่สร้างขึ้นจากจินตานาการ https://minecraft.gamepedia.com/Biome

1. ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบฝนตกชุกตลอดปี 200-400 เซนติเมตร/ปี มีความหลากหลายทางชีวภาพพบพืชและสัตว์นับพันสปีชีส์ มีโอกาสพบไบโอมนี้ในเขตที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
2. ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduoud forest) มีฝนตกเฉลี่ย 100 เซนติเมตร/ปี ผลัดใบก่อน-ผลิหลังฤดูหนาว พบได้ทั้งไม้ต้น ไม้พุ่ม รวมถึงพืชล้มลุก
3. ป่าสน (Boreal forest) มีต้นไม้เขียวชะอุ่มตลอดปี ฤดูหนาวค่อนข้างยาว อากาศหนาวเย็นและแห้ง พืชเด่นๆ ที่พบ เช่น ไพน์ เฟอร์ 
4. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) เช่น ทุ่งหญ้าแพรร์รี่ในตอนกลางของอเมริกาเหนือ และทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศรัสเซีย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตร/ปี เป็นเขตที่เหมาะต่อการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์
5. สะวันนา (Savanna) ลักษณะของภูมิอากาศร้อน และในฤดูร้อนมักมีไฟป่าเกิดขึ้นเสมอ มีต้นไม้และหญ้ากระจายเป็นหย่อมๆ
6. ทะเลทราย (Desert) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตร/ปี อุณหภูมิในตอนกลางวันสูงถึง 60 องศาเซลเซียสและเย็นจัดในตอนกลางคืน พืชที่พบจะลดรูปใบเป็นหนาม และลำต้นอวบเพื่อสะสมน้ำ
7. ทุนดรา (Tundra) ฤดูหนาวยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ ดินที่อยู่ต่ำลงไปจากผิวดินชั้นบนจับตัวกันเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ปริมาณฝนน้อยมาก น้ำแข็งที่ผิวดินจะละลายเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนแต่จะไม่ซึมผ่านชั้นน้ำแข็งทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้นๆ ซึ่งเป็นพืชพวกไม้ดอก ไม่พุ่ม และพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคน
ไบโอมในน้ำ (aquatic biome) 
ในไบโอสเฟียร์มี 3 ไบโอมหลักๆ คือ
1. แหล่งน้ำจืด (freshwater) แหล่งน้ำนิ่ง เช่น บึง สระ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำไหลได้แก่ ธารน้ำไหล และแม่น้ำ
2. แหล่งน้ำเค็ม (marine) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อไบโอมนี้คือปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ประกอบด้วยทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร
3. แหล่งน้ำกร่อย (estauries) พบบริเวณรอยต่อของแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน
ระบบนิเวศ แบ่งเป็นระบบนิเวศในน้ำ และบนบก
1. แหล่งน้ำจืด แบ่งเป็น ประเภทน้ำนิ่ง กับน้ำไหล
แหล่งน้ำจืด ประเภทน้ำนิ่งแบ่งออกเป็น 3 โซน โดยแบ่งตามความสามารถของแสงที่ส่องถึง
2. แหล่งน้ำเค็ม แบ่งเป็น บริเวณชายฝั่ง และบริเวณทะเลเปิด ซึ่งบริเวณนี้ก็มีการแบ่งเป็น 3 โซนในลักษณะเดียวกันกับแหล่งน้ำจืด สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่พบในแต่ละโซนมีการปรับตัวทั้งทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอด
ระบบนิเวศน้ำเค็ม ยังแบ่งตามลักษณะพื้นผิวทางกายภาพ ได้อีก 3 ระบบนิเวศ ได้แก่
1. ระบบนิเวศหาดทราย บริเวณที่ระดับน้ำลงต่ำสุดจนถึงระดับน้ำขึ้นที่ละอองน้ำสาดซัดไปถึง ปัจจับที่มีผลต่อความชื้นและอุณหภูมิบนหาดทรายคือความลาดชันและกระแสน้ำขึ้น-ลง สิ่งมีชีวิตที่พบ เช่น ปูลม (ซ้าย) และจั๊กจั่นทะเล (ขวา)
 
2. ระบบนิเวศหาดหิน ประกอบด้วยโขดหินที่ไม่เรียบ มีซอกและแอ่งเป็นกำบังคลื่นลมเพื่อหลบซ่อนศัตรู เวลาน้ำลงสัตว์และพืชต้องเผชิญกับการขาดน้ำชั่วขณะ อุณหภูมิสูงขึ้น แสงมากขึ้น เมื่อน้ำขึ้นเพิ่มขึ้นความชื้นเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณแสงและอุณหภูมิลดลง สิ่งมีชีวิตที่พบเช่น เพรียงหิน ซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้แต่สร้างเปลือกหุ้มเพื่อกักเก็บน้ำภายใน หรือเคลื่อนที่ได้ เช่น ลิ่นทะเล จะเคลื่อนที่ไปหลบในซอกหินเมื่อน้ำลง
 
3. ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล มีความหลากหลายทางระบบนิเวศมากที่สุดในท้องทะเล เป็นที่กำบัง และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด
ระบบนิเวศบนบก
1. ป่าไม่ผลัดใบ
1.1 ป่าดิบชื้น ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออก เขียวครึ้มตลอดปี มีความชื้นสูง พืชมีใบกว้างคลุมหนาแน่น ในป่าดิบชื้นพบต้นไม้สูงถึง 40 เมตร จนถึงไม้ล่างที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร

1.2 ป่าดิบแล้ง พบทางเหนือและจะวันออกเฉียงเหนือ แห้งแล้งอย่างน้อย 3-4 เดือน ลักษณะเป็นป่าโปร่ง พืชเด่นที่พบในเรือนยอดชั้นบน เช่น ยางแดง มะค่าโมง เคี่ยม หลุมพอ

1.3 ป่าดิบเขา พบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร พบได้ในเทือกเขาสูงแถบภาคเหนือ จัดเป็นป่าต้นไม้ลำธาร ไม้ต้นที่พบเช่น ไม้วงศ์ก่อ นางพญาเสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) มะขามป้อมดง อบเชย กำยาน ไม้พื้นล่าง เช่น กุหลาบป่า กล้วยไม้ดิน
ป่าดิบเขา ณ อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์
1.4 ป่าสน ไม้ต้นที่พบมีใบเรียวเล็กเหมือนเข็ม พื้นป่าเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกเกิดขึ้นน้อยเพราะดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีความเป็นกรดและขาดธาตุอาหาร มีอัตราการชะล้างสูง สัตว์ที่พบเช่น แมวป่า ชะมด เม่น อีเห็น
ป่าสนบริเวณอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
1.5 ป่าชายเลน พบใกล้แหล่งน้ำกร่อย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พรรณไม้ที่พบ เช่น โกงกาง แสม ลำพู ตะบูน มีความสำคัญในแง่การเป็นแหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย แหล่งวางไข่ และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา

1.6 ป่าพรุ พบตามที่ลุ่มที่มีน้ำขังตลอดปี สภาพดินเป็นดินพรุเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ น้ำจึงมีความเป็นกรดสูง ลักษณะของป่าแน่นทึบ พรรณไม้ที่พบ เช่น หวาย หมากแดง หลุมพี พบกระจายอยู่บนภูเขาสูงและที่ราบชายฝั่งทะเล
ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส น้ำที่ขังในป่ามีสีน้ำตาลแดง

2. ป่าผลัดใบ
2.1 ป่าเบญจพรรณ เบญจ แปลว่า 5 จึงพบพรรณไม้หลัก 5 ชนิด ได้แก่ สัก มะค่า แดง ประดู่ ชิงชัน ขึ้นปะปนกับไผ่และพืชวงศ์หญ้าชนิดอื่นๆ พบทุกภาคในไทยยกเว้นภาคใต้ ดินเป็นดินร่วนปนทราย

2.2 ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าแพะ เป็นป่าโปร่งมีต้นขนาดใหญ่พบในเขตแห้งแล้งของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด พรรณไม้ที่พบ เช่น เต็ง รัง ไผ่เพ็ก พะยอม เหียง พลวง ประดู่แดง มะขามป้อม